หน้าเว็บ

19.6.56

แจ็คเสียบสำหรับเอฟเฟ็กต์ทางเสียง

ในการพ่วงอุปกรณ์ที่เป็นเอฟเฟ็กต์ทางเสียง มิกเซอร์คอนโซลบางประเภท เช่น ยี่ห้อแม็กกี้ Macky จะมีแจ็คที่ใช้เป็นแจ็คแบบ 3 คอนเน็กเตอร์ เป็นแจ็คโฟนแบบ TRS แต่เอาต์พุตของมิ๊กเซอร์และอินพุตของมิ๊กเซอร์ที่ใช้ในการส่งและรับสัญาณที่มาจากชุดเอฟเฟกต์เป็นแบบอันบาลานซ์ จะมีคอนเน็กเตอร์เป็นคอนเน็กเตอร์พิเศษปรากฎให้เห็นดังรูป
อุปกรณ์ที่เป็นเอฟเฟ็กต์ทางเสียงจะมีจุดส่งออกจากเอาต์พุตของมิ๊กเซอร์คอนโซล เรียกจุดนี้ว่า Send เมื่อส่งเข้าสู่ตัวทำเอฟเฟ็กต์ทางด้านเสียงแล้ว เครื่องทำเอฟเฟ็กต์ทางด้านเสียงจะส่งสัญญาณเสียงที่ปรุงแต่งและสังเคราะห์ใหม่แล้วเข้ามายังอินพุตของมิ๊กเซอร์คอนโซลอีกครั้งหนึ่ง เรียกจุดอินพุตนี้ว่า Return
สัญญาณที่เป็น Send Out ซึ่งออกจากตัวมิ๊กเซอร์ไปยังหน่วยภายนอก ส่งไปกับสายสัญญาณที่เป็นสาย Tip และส่ง Return กลับจากหน่วยภายนอกเข้ามายังมิ๊กเซอร์โดยสายสัญญาณที่เป็นเส้น Ring โดยมี Sleeve เป็นคอมม่อนกราวด์สำหรับสัญญาณทั้งสองทาง
ในกรณีของสายเอฟเฟ็กต์ ถ้าคุณเสียบปลั๊กแบบ TS หรือปลั๊กโมโน หากเสียบเข้าไปแล้วปรากฎได้ยินเสียงล๊อกหนึ่งครั้งนั้น ยังไม่สามารถที่จะทำให้แจ็คสวิตช์สามารถส่งสัญาณออกไปได้ ลูฟของสัญญาณยังเป็นลูฟเปิดดังปรากฎอยู่
ในรูป ก การจะทำให้สัญญาณและข้อมูลจากแชลเนลต่างๆสามารถส่องออกไปหรือสามารถทำงานได้นั้นจะต้องเสียบเข้าไปให้สุด เรียกว่า ดับเบิ้ลคลิก (Double Click) ดังปรากฎอยู่ใน
รูป  ข  ซึ่งปกติแล้วระบบที่ใช้สำหรับเอฟเฟ็กต์ดังกล่าวนี้จะมีสวิตช์ต่อสัญญาณโยงเข้าหากัน ถ้าไม่มีเอฟเฟ็กต์ภายนอกเข้ามา แจ็คเหล่านี้จะโยงสัญญาณจากเอาต์พุตไปหาอินพุตภายในเครื่องอยู่แล้ว ส่วน
ในรูป ค เป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ปลั๊กแบบเสตอริโอ ซึ่งวิธีการระหว่างปลั๊กโมโนกับปลั๊กสเตอริโอ ก็จะมีวิธีการแบบเดียวกันเพียงแต่ว่าสัญญาณที่เป็น โมโน จะถูกแพนเข้าไปยัง ตำแหน่งของแชลเนลซ้ายซึ่งจะเรียกว่าตำแหน่งของสัญญาณโมโน แล้วจะทำให้สัญญาณทั้งสองแชลเนลคือทั้งแชลเนลซ้ายและแชลเนลขวาสามารถส่งกลับเข้าไปสู่วงจรได้ สัญญาณที่เป็นโมโน สามารถที่จะแพนให้ออกทางด้านซ้าย สามารถที่จะแพนให้ออกทางด้านขวาหรือสามารถที่จะแพนให้ได้เซ็นเตอร์ ทั้งนี้แล้วแต่ระบบควบคุมบาลานช์
ในระบบของสัญญาณสเตอริโอจะมีปลั๊กเป็นปลั๊กคู่หรือมีปลั๊กคู่สองอัน โดยเราจะแพนเข้าสู่ช่องซ้ายซึ่งเป็นช่องโมโน และอินพุตช่องขวาจะเป็นช่องขวาจะเป็นช่องสำหรับแจ็ครีเทิร์น แจ็คที่เป็นแจ็คสวิตซ์ในตำแหน่งแจ็คทางด้านขวาจะไม่สามารถรับฟังก์ชั่นในระบบ โมโนได้ มันจะใช้ได้สำหรับสัญญาณในระบบสเตอริโออย่างเดียว
สัญญาณเสียงโมโนที่ต่อเข้าไปยังแจ็คทางด้านขวาจะทำงานได้ เฉพาะสัญญาณทางด้านขวาเท่านั้น
คอนเน็กเตอร์แบบ Y
คอนเน็กเตอร์แบบมัลต์ (Mult) หรือคอนเน็กเตอร์แบบ Y จะมีการใช้งานในกรณีที่มีหนึ่งเอาต์พุตแต่มีอินพุตตั้งแต่สองหรือมากกว่าสอง ในกรณีนี้เราอาจจะมีการนำเอาคอนเน็กเตอร์มาต่อสายขนานกัน
เรียกวิธีการนี้ว่า วิธีการทำคอนเน็กเตอร์แบบ Y หรือมัลต์ ซึ่งเอาต์พุตจะมีทั้งบาลานซ์และอันบาลานซ์แต่ต้องอย่าลืมว่าคอนเน็กเตอร์แบบมัลต์หรือ Y ที่ยะโยงเข้าสู่อินพุตนั้น จะต้องไม่ทำให้อินพุตหรือเอาต์พุตมีปัญหาเกิดขึ้น
บทส่งท้าย
อย่างน้อยในขั้นต้นนี้ ท่านคงก็พอจะทราบถึงมาตรฐานของระบบเชื่อมโยงสัญญาณเสียงที่ผ่านคอนเน็กเตอร์แบบต่างๆ ซึ่งเน้นเฉพาะคอนเน็กเตอร์ที่ใช้งานระบบเสียงเท่านั้น การรู้จักมาตรฐานของคอนเน็กเตอร์ เป็นปรากฎการด่านแรกหรือขั้นตอนเบื้องต้นในการที่จะก้าวไปสู่การเป็นวิศวกรระบบเสียง




สายสัญญาณแบบอันบาลานช์ Unbalancing Line

ในงานสตูดิโอ งานทางด้านเวทีสด และงานระบบเสียง มีการผสมกันระหว่างอินพุตและเอาต์พุตที่เป็นแบบบานช์และอันบาลานช์ในเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้งานในเวลาเดียวกัน นี่คือปัญหาโดยทั่วไปสำหรับการทำคอนเน็กเตอร์

  1. เมื่อจะต่อบาลานช์เอาซ์พุตเข้ากับอันบาลานช์อินพุตจะต้องแน่ใจว่าสัญาณที่เป็น Hight (Hot) ต่อไว้กับสายเดือยนำสัญาณและสัญญาณบาลานซ์ที่เป็นสัญญาณ Low (Cold) ต่อเข้ากับกราวด์ที่อินพุตของอันบาลานซ์ได้หรือไม่ ในกรณีนี้หากบาลานซ์กราวด์ของอินพุตอันบาลานซ์ เกิดปัญหากราวลูพขึ้นมา อาจจะมีการตัดจุดต่อปลายทางตัวบาลานซ์ออกไป
  2. เมื่อต่ออันบาลานซ์เอาต์พุตเข้ากับบาลานซ์อินพุต ต้องมีความมั่นใจว่าสายนำสัญญาณที่เป็น High (Hot) ต่อเข้ากับสายสัญญาณแล้วหรือไม่ สายที่เป็นอันบาลานซ์กราวด์ (Earth) ต่อเข้ากับสายที่เป็น Low (Cold) และขั่วต่อกราวด์ของบาลานซ์อินพุตต้องต่อเข้ากับกราวด์ของอันบาลานซ์ด้วย และหากเกิดปัญหาลูฟกราวด์ขึ้น ให้ลองต่อสายอันบาลานซ์กราวด์เข้ากับอินพุต Low (Cold) อย่างเดียว โดยอินพุตกราวด์ไม่จำเป็นต้องต่อ
  3. ในบางกรณ๊ที่เกิดปัญหาขึ้นเราอาจจะมีตัวอะแด๊ปเตอร์ ที่เป็นอินเตอร์คอนเน็กชั่นพิเศษ ซึ่งเป็นอุปกรณ์พิเศษที่ใช้สำหรับบาลานซ์ XLR ตัวเมีย ต่อเข้ากับอันบาลานซ์ 1/4 นิ้วที่เป็นโฟนปลั๊กแบบ TS 
ในบางครั้งบริษัทผู้ผลิตมิ๊กเซอร์อาจจะมีคอนเน็กเตอร์พิเศษที่สามารถจะแปลงจากบาลานซ์ให้เป็นอันบาลานซ์เป็นอะไหล่แถมให้มา โดยใช้การแปลงจากปลั๊กแบบ TS ไปยังปลั๊กแบบ TRS หรือแปลงจาก TRS เป็นปลั๊กแบบ TS ติดมากับเครื่อง

ปลั๊กและแจ็คแบบอาร์ซีเอ RCA

RCA หรือปลั๊กโฟโน phono plugs ส่วนใหญ่จะพบว่าใช้อยู่ในงานโฮมเสตอริโอและระบบวิดิโอเทป หรือระบบของสัญญาณภาพที่เรียกว่าระบบ AV รูปร่างหน้าตาของ
ปลั๊ก RCA จะเป็นไปรูปนี้

ตัวแจ็ค RCA
คอนเน็คเตอร์ จะมีรหัสสีของขั้วปลั๊กและแจ็คสีสัญาณเอาไว้เช่นว่า สีแดงกับขาวใช้สำหรับเสียง สีเหลืองใช้สำหรับภาพ
แจ็ค ปลั๊ก RCA  เป็นการใช้งานในรูปแบบของสัญาณอันบาลานซ์เช่นเดียวกับปลั๊กและ แจ็คโฟนแบบ TS โดยจะมีสัญญาณต่อเข้ามายังเซ็นเตอร์โพสต์ และทางด้านกราวด์สายชีลด์นั้นจะต่อเข้ากับขั้วปลอกนอกของตัว RCA


18.6.56

โฟนแจ็คแบบมีสวิตซ์ (Switched Phone Jacks)

โฟนแจ็คแบบมีสวิตซ์ (Switched Phone Jacks)

คอนเน็คเตอร์ที่เป็นโฟนแจ็ค ซึ่งมีสวิตช์อยู่ภายในที่ใช้งานในปัจจุบันเป็นมาตรฐาน 1/4 นิ้ว โดยส่วนใหญ่ในทางปฎิบัติใช้สำหรับต่อเข้ากับปลั๊กที่สอดเข้ามา วงจรที่เป็น Loop ของการสอดสัญญาณ Insert Loop ซึ่งมีการต่อสวิตช์ของแจ็คไว้ข้างใน จะใช้สำหรับการป้อนสัญาณที่เป็นสัญาณฟังชั่นต่างๆ ซึ่งเป็นฟังชั่นของงานสนับสนุนระบบเสียง เช่น Input ของ อ๊อกซิลลารี่ื หรือ อินพุตของ เอฟเฟกต์รีเทิร์น นอกจากนั้นแล้วยังเป็นอินพุตของบัสหรือข้อมูลอื่นๆ ในระบบใหม่ อีกทางหนึ่งด้วย ปกติแล้วอินพุตเหล่านี้จะมีสวิตช์วงจรลงกราวด์ไว้ เพื่อไม่ให้เกิดสัญาณรบกวนจากตัวปลั๊ก
ในกรณีของการใช้งานเมื่อมีปลั๊กเสียบเข้ามา วงจรสวิตช์จะเริ่มทำงานโดยการตัดกราวด์ออก จากคอนเน็กเตอร์ของแจ็คแล้วแล้วรับสัญาณไปใช้งาน ข้อเด่นของโฟนแจ๊คแบบมีสวิตช์คือ ไม่ทำให้ระบบมีปัญหาเมื่อต่อวงจรอินพุตเข้ากับกราวด์ในกรณีที่ยังไม่มีการป้อนเสียบอินพุตเข้ามา


คอนเน็กเตอร์แบบทีเอสโฟน ( TS Phone )

Connecter มาตรฐาน TS เป็นคอนเน็กเตอร์ที่มีขาใช้งาน 2 ขาด้วยกันคือ ขาที่เป็นทิป Tip และขาที่เป็น Sleeve คอนเน็กเตอร์แบบ  TS กับแบบ TRS มีลักษณะที่คล้ายกันเพียงแต่ว่าคอนเน็กเตอร์แบบ TRS คือปลั๊กและแจ็คโฟนแบบมาตรฐานสำหรับงานระบบเสียงโดยทั่วไป เป็นมาตรฐานที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว ส่วนปลั๊กและแจ๊คแบบ TS เป็นปลั๊กและแจ๊คแบบ Mono 
มาตรฐาน 1/4 นิ้ว ใช้ในงานเสียง
มาตรฐาน 1/8 นิ้ว ซึ่งใช้ในงานบางลักษณะ

- แจ๊คและปลั๊กแบบ TS มีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป การใช้งานแบบ Unbalanced โดย connecter ที่เป็นขั่ว TIP ต่อเข้าสัญญาณเสียงและขั่วที่เป็น Sleeve ต่อเข้ากับกราวส์หรือเอิร์ธ Earth 
Ex 
MicroPhone Unbalance , Electric Guitar และสัญญาณที่ต้องการ Unbalance Connecter

คอนเน็กเตอร์แบบทีอาร์เอสโฟน (TRS phone)

แจ๊คที่แบบโฟนจะมีใช้งานอยู่ 2 แบบก็คือแบบ TRS , TS
TRS แจ๊คแบบ Stereo - Balanced คอนเน็กเตอร์แบบนี้มีขาใช้งาน 3 ขา

Tip
Ring
Sleeve


TRS แบบปลั๊กโฟนหรือแจ๊คโฟนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว 2 หุน กับ 1/8 นิ้ว 1 หุน คุณภาพงานตามขนาด เป็นคอนเน็กเตอร์แบบเสตอริโอหรือปลั๊กแบบบาลานซ์หรือปลั๊กตัวผู้ แจ๊คหมายถึงคอนเนคเตอร์ตัวเมีย
เมื่อเราถ่ายแบบของ Connecter TRS จะมีจุดต่อสัญญาณส่วนปลายของปลัที่เป็นเดือยออกมา คำว่าเดือนหรือปลายที่โผล่ออกมาในลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนดังรูป จะเรียกว่า TIP ซึ่งเป็นสายหรือข้อต่อรับสัญญาณเส้นหนึ่ง ส่วนที่สองจะมีฉนวนกั้นระหว่างแกนของทิปกับปลอกที่เป็นสลีฟส่วนที่สองนี้จะมีลักษณะเป็นหน้าสัมผัสแหวน จึงเรียกส่วนที่สองนี้ว่า วงแหวนหรือริง Ring และส่วนที่สามที่เป็นปลอกสวมหรือปลอกสวม จะเรียกว่า Sleeve 
และส่วนของ Connecter ตัวเมีย หรือ แจ๊คต้องออกแบบให้รองรับกับขั้วต่อทั้งสามของ TRS โฟนเช่นเดียวกัน โดยแจ๊ค ที่เป็นขาทิปจะต้องเป็นเดือยล๊อก เพื่อจะล๊อคเข้ากับเดือยของหัวทิปซึ่งเป็นเดือยแบบหยักล๊อคเข้าไป ส่วนหยักที่จะเป็นตัวล๊อกส่วนที่เป็นริงก็จะต้องสัมผัสเข้ากับส่วนที่เป็นวงแหวน ในขณะที่ปลอกหุ้มจะสัมผัสเข้ากับกระบอกปลอกหุ้มหรือสลีฟของแจ๊คเช่นเดียวกัน
การประยุกต์ใช้งานของแจ๊คและปลั๊กแบบ TRS
- ใช้สำหรับ Stereo Headphone 
- ใช้กับ Stereo MicroPhone
- ใช้กับ Stereo Line Connection
ในกรณีที่สายสัญญาณเป็นแบบ Stereo แจ็คหรือปลั๊กที่เป็น Connecter แบบ TRS มารตรฐาน 1/4 จะต้องต่อหัวทิปเข้ากับสัญญาณแชลแบลซ้าย ต่อแหวนริงเข้ากับสัญญาณแชลเนลขวา และตัวปลอกสลิฟต่อเข้ากับกราวด์แต่อย่างไรก็ดีในมิกเซอร์คอลโซลมารตรฐานทั่วไป ไมโครโฟนที่ใช้ไม่นิยมใช้ไมโครโฟนแบบ Stereo หากมี Micro Phone Stereo เสียบเข้ามาก็จะมี MicroPhone Stereo  เพียง หนึ่งหรือ สอง อินพุทเท่านั้น โดยส่วนใหญ่การใช้ไมโครโฟนนั้นจะใช้ไมโครโฟนเสียบแต่ละแชลเนล ซ้ายหนึ่งตัว ขวาหนึ่งตัว การใช้ไมโครโฟนนั้นจะแพน Pan เสียงว่าจะให้เสียงออกแชลเนลซ้ายหรือแชลเนลขวา โดยผ่านวงจรปรีแอมป์สองวงจร แต่หากต้องการใช้ เสตอริโอไมโครโฟนเข้ากับม๊ิกเซอร์ที่เป็นมาตรฐานแบบนี้ ก็สารถทำได้โดยการนำ Connecter MicroPhone  แบบ Y ซึ่งจะแยกสายเคเบิ้ลออกไปยังคอนเน็กเตอร์ตัวเมียที่เป็นแจ็ค TRS 1/4 นิ้วให้เสียบเข้าไป ยัง XLR ที่เป็นปลั๊กแล้วก็แยกสัญาณที่เป็นซ้ายและขวา
การใช้งานของวงจรบาลานช์โมโน Balance Mono Circuits เมื่อสายสัญญาณที่เข้ามาต้องการ คอนเน็กเตอร์แบบบาลานซ์ได้ โดยการต่อทริปเข้ากับสัญญาณที่เป็น Hight (Hot) ขา Ring ต่อเข้ากับ สัญญาณที่เป็น Low (Cold) และสลีฟต่อเข้ากับ กราวส์ Earth
การใช้งานในระบบ Unbalance ที่เกี่ยวข้องกับวงจรเพิ่มเอฟเฟ็กต์ (Unbalanced Sent/Return Circuits) เมื่อจะต่อพ่วงเอฟเฟ็กต์เข้ากับมิ๊กเซอร์สามรารถใช้ Connecter แบบ TRS โดยการทำให้เป็น Connecter แบบตัว Y โดยคำว่า เอฟเฟกต์ หมายถึงเครื่องมือช่วย เช่น เอ็คโค่ ดีเลย์ หรืออื่นๆที่เป็นตัวสร้างอารมส์ของเสียง โดยวงจรที่จะมาต่อกับ เอฟเฟกต์ จะเป็นวงจร Sent/Return ในการต่อ Connecter แบบ TRS ของแจ็คหรือ ปลั๊กให้ต่อขาทิปเข้ากับสัญญาณที่จะส่งออกจากมิ๊กเซอร์ Sent ขา Ring ต่อเข้ากับ Return สัญาณที่จะส่งกลับเข้าสู่ Input และขา Sleeve ให้ต่อเข้ากับ กราวด์ Earth หรือสาย ชีลด์







27.4.56

Live Hight - Jason Mraz Chord


วันนี้ขอลงเพลงเพราะๆของ Jason Mraz ซึ่งอันนี้ผมได้แก้ไขคร์อดให้ตรงกับเพลงแล้วโดย เพลงนี้เป็นเพลงที่อยู่ในอัลบั้ม We Sing We Dance We Steal Things ในอัลบั้มชุดที่ 3 ของ Jason Mraz ครับขอบอกว่าอัลบั้มนี้เพราะๆหลายเพลงครับเดวจะหาคอร์ดมาแก้ให้ถูกลงเพิ่มอีกดีก่า^^